เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเพื่อลูกน้อย แบบกระชับเน้นเนื้อไม่เน้นน้ำ เพื่อพ่อแม่ โดยพ่อแม่ที่ขี้เกียจอ่านเยอะ
เนื้อหานี้เหมาะ
สำหรับเด็กช่วงอายุ
ตั้งแต่
1 ขวบ
จนถึง
2 ขวบ
เด็กพูดได้ตอนไหน
เนื้อหานี้เหมาะสำหรับเด็กช่วงอายุ
ตั้งแต่
1 ขวบ
จนถึง
2 ขวบ

เด็กจะพูดได้ตอนกี่ขวบ เช็คให้ดี ก่อนที่จะสายเกินไป!

เด็กจะพูดได้ตอนกี่ขวบ? คำถามนี้มักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ จากพ่อแม่ทุกคนมักที่อยากจะเห็นพัฒนาการของลูกน้อยเร็วๆ เนือหานี้จะช่วยให้คุณรู้ได้ว่าว่าลูกน้อยมีพัฒนาการด้านการพูดเป็นไปตามวัยหรือไม่
สรุปคำถามสำคัญ ให้ตรงนี้แล้ว!  ถ้ารีบอ่านแค่นี้ไปดูลูกต่อได้เลย!
สรุปคำถามสำคัญ ให้ตรงนี้แล้ว!  ถ้ารีบอ่านแค่นี้ไปดูลูกต่อได้เลย!
1.

เด็กจะเริ่มพูดได้ตอนกี่ขวบ?

โดยทั่วไปเด็กจะเริ่มพูดเป็นคำที่มีหมายความได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 1 ขวบ 3 เดือน เป็นต้นไป จนถึง 2 ขวบ โดยจะเริ่มจากคำสั้นๆ ที่มีหมายหมายเช่น ปาป้า มาม่า หมา และเริ่มเพิ่มความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ

2.

แยกระหว่างการพูดและส่งเสียงแบบไร้ความหมายอย่างไร?

การจะนับว่าเริ่มพูดได้นั้น ต้องสังเกตว่าเด็กสามารถส่งเสียงเรียกในคำเดิมกับสิ่งของหรือบุคคลเดิมซ้ำๆ ได้หรือไม่ บางครั้งอาจเป็นการส่งเสียงที่ใกล้เคียงแต่ไม่มีความหมาย

3.

เด็กอายุเท่าไหร่ ถึงนับว่าเป็นเด็กที่มีพัฒนาการด้านการพูดช้า?

หากเด็กมีอายุ 2 ขวบขึ้นไปแล้ว แต่ยังไม่พูดหรือพูดได้ไม่เป็นประโยค (จับใจความไม่ได้) คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อเช็คพัฒนาการ และทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง

4.

มีปัจจัยไหนบ้างที่ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการพูดช้า?

การให้เด็กดูหน้าจอมือถือ หรือโทรทัศน์ก่อน 2 ขวบ การที่พ่อแม่ไม่ค่อยพูดคุยกับลูก และการที่พ่อแม่ไม่ค่อยหยอกล้อส่งเสียงให้ลูกน้อยทำตาม

พัฒนาการด้านการพูด และภาษาในวัยเด็ก แบบสรุป!

แม่พูดคุยกับเด็กแรกเกิด

พัฒนาการด้านการพูด และภาษาในวัยเด็ก คือพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตที่พ่อแม่ทั้งหลายควรต้องสังเกตอยู่ตลอดเวลา โดยเด็กเล็กจะเริ่มมีการส่งเสียงอ้อแอ้ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป เพราะเริ่มมองเห็นภาพเบลอได้แล้ว แต่ส่วนใหญ่เด็กจะเริ่มพูดเป็นคำๆ ได้ระหว่าง 1 - 2 ขวบ จะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับการกระตุ้นพัฒนาการจากพ่อแม่ แต่ส่วนใหญ่เด็กทารกที่เด็กกว่า 1 ขวบจะชอบที่จะสื่อสารด้วยการส่งเสียง และใช้ภาษากายแทน เพราะยังพูดไม่ได้นั่นเอง

 



สาเหตุความผิดปกติ ที่ทำให้ลูกของคุณมีพัฒนาการด้านการพูด และภาษาช้า

การพูดได้ช้าหรือเร็วนั้นมีปัจจัยที่ส่งผลกับเด็กหลักๆ ดังนี้

  • ความผิดปกติของร่างกาย และได้รับพันธุกรรมจากพ่อแม่
  • มีภาวะอาการออทิสติก
  • ไม่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างสม่ำเสมอ

 



เช็คให้ดี ว่าลูกของคุณมีความเสี่ยงต่อการพูดช้าหรือไม่?

สิ่งที่สำคัญมากที่สุดสำหรับพัฒนาการด้านการพูดของเด็กเล็กก็คือ การตรวจเช็คพัฒนาการของคุณพ่อคุณแม่ โดยสามารถสังเกตได้ตั้งแต่ในช่วงแรกเกิด 2-3 เดือนขึ้นไปด้วยตัวเองว่าลูกน้อยของคุณมีการส่งเสียงอ้อแอ้หรือไม่ มีการตอบโต้เวลาที่พ่อแม่คุยด้วยหรือเปล่า และมีอาการเหม่อลอยมั้ย ในช่วงนี้อาจเป็นเพียงสัญญานเล็กๆ แต่ยังไม่ต้องวิตกกังวลไปนัก

ให้พ่อแม่คอยติดตามพัฒนาการของลูกเป็นระยะๆ หากลูกยังไม่เริ่มสื่อสารคำพูดง่ายๆอย่างเช่น แม่ ปาป้า (หรืออื่นๆแล้วแต่พ่อแม่จะกระตุ้น) หลังจาก 1 ขวบ 6 เดือนจนถึงช่วงอายุ 2 ขวบขึ้นไป นั้นควรรีบพาลูกของคุณไปพบแพทย์เพื่อทำการกระตุ้นพัฒนาการด้านการพูด

 

 

สิ่งสำคัญที่สุดต่อพัฒนาการด้านการพูดของเด็ก ก็คือการเลี้ยงดูของพ่อแม่

การเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่ส่งผลต่อพัฒนาการด้านการพูดของลูกน้อย ถ้าหากว่าคุณอยากจะให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมวัย ก็ควรต้องเลี้ยงด้วยการพูดคุยกับเด็กบ่อยๆ เล่านิทานให้ฟัง เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการ อีกทั้งยังกระชับความสัมพันธ์กับลูกน้อย ช่วยให้พูดได้เร็วขึ้น โดยวิธีอื่นๆก็สามารถทำได้ตามนี้เลย

ควรงดจอจนถึง 2 ขวบ

กระตุ้นพัฒนาการด้านการพูดด้วยการอ่านนิทาน

เด็กทารกไปจนถึงเด็กที่มีอายุ 2 ขวบไม่ควรที่จะดูจอเลยแม้แต่น้อย โดยเฉพาะโทรทัศน์ และมือถือ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกงดดูจอจนถึง 2 ขวบ เพื่อให้ลูกได้ใช้เวลาในการกระตุ้นพัฒนาการด้านการพูดได้มากยิ่งขึ้น

 

เริ่มส่งเสียงพูดคุยกับลูกตั้งแต่แรกเกิด

ถึงแม้ว่าเด็กแรกเกิดจะไม่สามารถพูดคุย และมองเห็นหน้าพ่อแม่ได้ แต่ไม่ต้องกังวล พ่อแม่สามารถส่งเสียงพูดคุยกับลูกได้ตั้งแต่แรกเกิด (พูดด้วยเสียงสูง ลูกจะตอบสนองได้ดีกว่าในช่วงแรกเกิด - 6 เดือน) จะช่วยทำให้ลูกน้อยตอบสนองได้เร็วมากยิ่งขึ้น เค้าอาจจะตอบคุณด้วยการส่งเสียงอ้อแอ้เล็กน้อย หรือใช้ภาษากายเช่นถีบขาขชอบใจ หรืออาจจะยิ้มให้คุณแทนก็ได้นะ 🙂

 

เล่นกับลูกน้อยบ่อยๆ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการให้ดีขึ้นได้

เล่นกับลูกน้อยเพื่อเสริมพัฒนาการด้านการพูดให้เด็กทารก

เมื่อลูกน้อยมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จะค่อยๆ เรียนรู้จากพ่อแม่ ดังนั้นการที่พ่อแม่เล่นกับลูกน้อยบ่อยๆ ทั้งการพูดคุยเล่น การหยอกล้อ หรือเล่านิทานให้ลูกฟัง (โดยที่ลูกไม่จำเป็นต้องเข้าเนื้อหาของนิทาน เล่าไปเลยค่ะ 55) แต่สิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการพูดให้ดีขึ้นได้ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณกับลูกน้อยได้อีกด้วยนะ

 



บทส่งท้าย

การสังเกตลูกน้อยว่ามีพัฒนาการด้านการพูดไปเป็นไปตามวัยหรือไม่ คือสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่กังวลเรื่องพัฒนาการด้านการพูด ควรหมั่นเช็คลูกน้อยของคุณให้ดี หากมีอาการเสี่ยงต่อการพูดช้าดังที่ My Little Hug ได้อธิบายไปในเนื้อนี้ ก็ควรจะพาไปพบแพทย์เพื่อกระตุ้นพัฒนาการกันนะคะ

เนื้อหาอื่นๆ ที่คุณน่าจะสนใจ
โอเลี้ยง กาแฟโบราณไทยในถุงชงโลหะ คนท้องกินโอเลี้ยงได้ไหม ข้อมูลเกี่ยวกับโอเลี้ยงสำหรับแม่ตั้งครรภ์
อยากกินโอเลี้ยงงง คนท้องกินโอเลี้ยงได้ไหม? มาดูคำตอบกัน
คนท้องกินโอเลี้ยงได้มั้ยนะ เรามีคำตอบเกี่ยวกับผลกระทบของโอเลี้ยง อ่านทางนี้
อ่านต่อคลิก
หญิงตั้งครรภ์ถือยาเม็ดพาราเซตามอลพร้อมแก้วน้ำ – คนท้องกินยาพาราได้ไหม? ความปลอดภัยในการใช้ยาแก้ปวดระหว่างตั้งครรภ์
ทำอย่างไรเมื่อคุณแม่มีไข้ คนท้องกินยาพาราได้ไหม?
คุณแม่มีไข้ทำยังไง? ยาพารากินได้ไหม?
อ่านต่อคลิก
คุณแม่ตั้งครรภ์กำลังดื่มกาแฟบนเตียง คนท้องกินกาแฟได้ไหม ข้อมูลสุขภาพสำหรับแม่ตั้งครรภ์
คนท้องกินกาแฟได้ไหม? คำถามยอดฮิตของคุณแม่มือใหม่
คนท้องกินกาแฟได้ไหม? คำถามยอดฮิตของคุณแม่มือใหม่
อ่านต่อคลิก