สังเกตจากการใช้สายตาของเด็กในชีวิตประจำวัน หากมีการจ้องมองสิ่งของต่างๆ ใกล้จนเกินไป เด็กก็อาจจะมีภาวะสายตาสั้นได้
ภาวะสายตาสั้น เกิดขึ้นได้ตามกรรมพันธุ์จริง
มีวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสายตาสั้นในเด็กอยู่หลายวิธี เช่นไม่ให้ดูมือถือ โทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือเป็นเวลานานๆ แบบใช้ระยะใกล้
ภาวะสายตาสั้น หากเด็กไม่ได้รับการรักษา อาจจะส่งผลอันตรายต่อเด็กในการใช้ชีวิตประจำวัน
ภาวะสายตาสั้นในเด็กคือ อาการผิดปกติอย่างหนึ่งของดวงตาที่สามารถพบเจอได้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งปกติแล้วเด็กแรกเกิดไปจนถึงเด็กที่มีอายุจนถึง 8 ขวบ จะมีค่าสายตาที่ยาวเหมือนผู้ใหญ่ เนื่องจากเลนส์ตาโฟกัสได้ในระยะใกล แต่ถ้าหากว่าเด็กคนไหนที่ได้รับกรรมพันธุ์มาจากพ่อแม่ หรือคนในครอบครัว ก็อาจจะทำให้พบเจอกับภาวะสายตาสั้นได้ตั้งแต่แรกเกิดเป็นต้นไป โดยความผิดปกติจะมีเลนส์ของดวงตา ที่เกิดการหักเหของแสงที่มากเกินไป เพราะว่ากระจกตามีความโค้งผิดปกติ ทำให้เกิดการมองเห็นภาพที่ไม่ชัดนั่นเอง รู้อย่างนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าลืมเช็คดวงตาของลูกน้อยด้วยล่ะ!
มาพูดถึงวิธีการสังเกตอาการสายตาสั้นในวัยเด็กกันบ้าง ซึ่งพ่อและแม่สามารถสังเกตอาการของลูกน้อยได้ด้วยตัวเองแบบง่ายๆนั่นก็คือ การสังเกตว่าเด็กมีการจ้องมองสิ่งต่างๆ ด้วยระยะใกล้ทุกครั้ง แต่ถ้าหากเป็นการมองระยะไกล เด็กจะมองไม่ค่อยเห็น และเลนส์ตาจะแสดงภาพเบลอออกมา
รู้หรือไม่! ว่าในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาภาวะสายตาสั้นในเด็ก และผู้ใหญ่ให้หายขาดได้ แต่จะมีวิธีการรักษาให้ผู้ที่มีสายตาสั้นสามารถชีวิตประจำวันได้อย่างคนที่มีค่าสายตาปกติ เช่นการตัดแว่นสายตา และการทำเลสิค รวมถึงบางคนก็อาจจะใช้วิธีชะลอการเกิดภาวะสายตาสั้นได้ด้วยการลดการมองจอ และการหยอดตาเป็นประจำ
เป็นการวัดค่าสายตา เพื่อทำการตัดเลนส์แว่นตา แล้วขยายเลนส์ให้กว้างขึ้น จากนั้นก็นำมาสวมใส่ วิธีนี้จะช่วยให้เด็กที่มีค่าสายตาสั้นสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ในวัยเด็กแพทย์อาจจะไม่แนะนำวิธีการนี้ เพราะว่าการใส่คอนแทคเลนส์ แม้ว่าจะทำให้เด็กมองเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ด้วยการขยายเลนส์ตา แต่ว่าเด็กเล็กๆ ก็มักจะมีการจับสิ่งของแล้วเอามือไปขยี้ตา จนทำให้เกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อได้ ซึ่งวิธีนี้นิยมใช้กับสาวๆ วัยรุ่นไปจนถึงวัยทำงาน
วิธีการนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ทันสมัยมากที่สุด แต่ต้องทำการรักษากับแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น โดยการทำเลสิคเป็นการลอกตาออก เพื่อให้เกิดเลนส์ตาใหม่เกิดขึ้นมา จึงทำให้ผู้ที่มีสายตาสั้นกลับมามองเห็นชัด (อาจจะทำให้กลับมามีค่าสายตาสั้นได้อีก) เพราะฉะนั้นใครที่มีงบเยอะ อยากจะทำให้ลูกที่น่ารักของตัวเองมองเห็นภาพชัดได้เร็วขึ้น ก็สามารถใช้วิธีการทำเลสิคได้เลย!
คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายถ้าหากว่าคุณได้รู้ถึงสาเหตุ การสังเกต และวิธีการรักษาภาวะสายตาสั้นในวัยเด็กกันไปแล้ว ก็อย่าลืมกลับไปสังเกตอาการของลูกตัวเองด้วยล่ะ เพราะถ้าหากรู้ตัวช้าก็อาจจะทำให้มีขั้นตอนการรักษาที่ยากขึ้น และยังทำให้เด็กมีโอกาสที่จะมีค่าสายตาที่สั้นกว่าเดิมได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย