เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเพื่อลูกน้อย แบบกระชับเน้นเนื้อไม่เน้นน้ำ เพื่อพ่อแม่ โดยพ่อแม่ที่ขี้เกียจอ่านเยอะ
เนื้อหานี้เหมาะสำหรับเด็กช่วงอายุ
ตั้งแต่
แรกเกิด
จนถึง
1 ขวบ

ทำยังไงให้ลูกหายสะอึก ทารกสะอึกบ่อย อันตรายไหม?

สรุปคำถามสำคัญ ให้ตรงนี้แล้ว!  ถ้ารีบอ่านแค่นี้ไปดูลูกต่อได้เลย!
สรุปคำถามสำคัญ ให้ตรงนี้แล้ว!  ถ้ารีบอ่านแค่นี้ไปดูลูกต่อได้เลย!
1.

เด็กทารกสะอึก ปกติไหม เกิดขึ้นได้ยังไง?

อาการสะอึกในทารกแรกเกิด เป็นเรื่อง "ปกติ" ไม่ต้องกังวล มักเกิดขึ้นหลังกินนมหรืออาหารอิ่ม เพราะกระเพาะอาหารขยายตัวไปกดทับกะบังลม ทำให้กล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเสียงคล้ายกระตุกนั่นเอง

2.

ปกติ ทารกสะอึกกี่นาที

โดยทั่วไปแล้ว อาการเด็กทารกสะอึกนั้นกินเวลาไม่นาน ประมาณ 3-5 นาที

3.

ทารกสะอึก แก้ยังไง?

วิธีหลักคือ พยายามทำให้ทารกเรอ เช่น อุ้มทารกให้เรอด้วยการให้ส่วนหัวพาดอยู่บนไหล่แล้วตบหลังทารกเบาๆ หรืออุ้มทารกนั่งบนตัก แล้วเอนตัวไปข้างหน้า จากนั้นใช้มือลูบหลังไล่จากเอวไปต้นคอเบาๆ อีกทั้งยังสามารถให้ทารกดูดนมแม่ก็สามารถช่วยแก้อาการสะอึกได้โดยไม่ต้องกินน้ำ

4.

ป้องกันทารกสะอึก ทำได้ไหม?

สามารถทำได้หลายวิธี เช่นแก้ไขที่ต้นเหตุ โดยการป้อนนมหรืออาหารช้าๆ หรืออาจแบ่งการป้อนเป็นหลายครั้งแทน โดยหลังจากทานนมหรืออาหาร ควรให้ทารกนั่งตัวตรงประมาณ 20 นาทีหลังจากทานเสร็จทุกครั้ง เป็นต้น

5.

ทารกสะอึกบ่อยอันตรายหรือไม่?

โดยปกติแล้ว อาการสะอึกในทารกแรกเกิด มักเป็นอาการปกติที่ไม่เป็นอันตรายและมักหายไปเองภายในไม่กี่นาที แต่หากลูกมีอาการสะอึกติดต่อกันนานเป็นชั่วโมง หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาเจียน หายใจลำบาก ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม

สาเหตุหลักที่ทำให้ เด็กทารกสะอึก

สาเหตุที่เด็กทารกสะอึกได้บ่อยกว่าผู้ใหญ่เพราะว่า ทารกมีการกลืนอากาศเข้าไปขณะกินนม อาหาร หรือร้องไห้ ประกอบกับกระเพาะอาหารของทารกแรกเกิดมีขนาดเล็กและอ่อนแอ ทำให้ไม่สามารถบีบไล่อากาศออกได้ เมื่อทารกกลืนอากาศเข้าไปมาก อากาศก็จะไปกดทับกะบังลม ทำให้กะบังลมหดตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการสะอึกจึงเกิดขึ้นนั่นเอง

ควรรู้! : อาการสะอึกกในเด็กทารกแรกเกิดจนถึง 1 ขวบนั้นเป็นอาการปกติทั่วไปไม่เป็นอันตราย

 

 

โดยทั่วไปแล้ว ทารกสะอึกกี่นาที

โดยทั่วไปแล้วอาการสะอึกในเด็กทารกนั้นกินเวลาไม่นาน ราวๆ 3-5 นาที หรืออาจนานกว่านั้นได้ในเด็กบางคน หากนานกว่านั้นหรือเป็นชั่วโมง และมีอาการสะอึกนานบ่อยๆ ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม

 

 

เด็กทารกสะอึก มีวิธีแก้อย่างไร

อาการสะอึกในทารกแรกเกิด ส่วนใหญ่มักเป็นอาการเพียงชั่วคราว ไม่เป็นอันตราย และมักหายไปเองภายในไม่กี่นาที หากทารกมีอาการสะอึก คุณพ่อคุณแม่อาจลองทำตามวิธีบรรเทาอาการสะอึกข้างต้นได้

  • อุ้มให้ทารกเรอ ให้อุ้มโดยให้ส่วนหัวพักอยู่บนไหล่ของผู้ที่อุ้ม หรืออุ้มพาดบ่าก็ได้เช่นกัน แต่ต้องให้ลูกตัวตั้งด้วย พร้อมใช้มือลูบหลังไปพร้อมกัน อีกทั้งการอุ้มลุกเดินไปเดินมาก็จะช่วยให้น้ำนมไหลออกจากกระเพาะอาหารไปสู่ลำไส้ได้เร็วขึ้น
    อุ้มทารกเรอ ท่าพาดบ่า

 

  • อุ้มทารกนั่งบนตัก แล้วเอนตัวเด็กไปข้างหน้าเล็กน้อย โดยใช้มือหนึ่งประคองคางของเด็กไว้ จากนั้นใช้อีกมือหนึ่งลูบจากหลังไล่ตั้งแต่เอวขึ้นมาจนถึงต้นคอเบา ๆ เพื่อทำการไล่ลม
    จับเด็กทารกเรอท่านั่ง ใช้มือประคองคาง

 

  • การให้ลูกดูดนมแม่ ก็ช่วยแก้อาการสะอึกได้ โดยไม่ต้องกินน้ำ แต่ถ้าเคสที่เด็กกินนมผง อาจจะแก้โดยให้เด็กกินนมจากขวด ก็จะช่วยให้เด็กหยุดสะอึกได้เร็วขึ้น

 



วิธีง่ายๆ ป้องกัน ทารกสะอึก

  • ป้อนนมหรืออาหารช้าๆ หรืออาจแบ่งการป้อนเป็นหลายครั้งแทนก็ได้เช่นกัน
  • หลังจากทานนมหรืออาหาร ควรให้ทารกนั่งตัวตรงประมาณ 20 นาทีหลังจากทานเสร็จทุกครั้ง
  • ทำให้เรอหลังจากทานเสร็จด้วยการตบเบาๆ อย่างอ่อนโยน หรือวนมือเป็นวงกลมไปมาบริเวณท้องเพื่อไล่ลมออก

 



ทารกสะอึกบ่อย อันตรายหรือไม่?

โดยปกติแล้ว อาการสะอึกในทารกแรกเกิด มักเป็นอาการปกติที่ไม่เป็นอันตรายและมักหายไปเองภายในไม่กี่นาที แต่หากลูกมีอาการสะอึกติดต่อกันนานเป็นชั่วโมง หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาเจียน หายใจลำบาก หรือมีสัญญาณของอาการขาดออกซิเจนอย่างอาการตัวเขียว ริมฝีปากและเล็บมีสีม่วงอมฟ้า อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่รุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสม

เนื้อหาอื่นๆ ที่คุณน่าจะสนใจ
ทารกร้องไห้ นอนไม่หลับ
แม่เหนื่อยมากเมื่อ ทารกร้องไห้ ไม่ยอมนอนสักที แก้ยังไงดี
สรุปสาเหตุทารกร้องไห้ไม่ยอมนอน เพราะอะไร ส่งผลต่อพัฒนาการไหม และวิธีแก้ไข
อ่านต่อคลิก
ทารกท้องผูก แก้ปัญหาอย่างไรให้ลูกสบายท้อง
อาการของทารกท้องผูก ลักษณะเป็นยังไง อันตรายไหม และวิธีป้องกัน
อ่านต่อคลิก
อาการของเด็กทารกหายใจแรง ติดขัด หายใจไม่สะดวก
ทารกหายใจแรง เสียงดัง แบบนี้เป็นอันตรายไหม?
เข้าใจสาเหตุที่ทารกหายใจแรง สังเกตอาการอย่างไร อันตรายไหม ดูแลยังไง
อ่านต่อคลิก